สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2537 เป็นสาขาวิชาเดียวในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลิตบุคลากรสู่วงการวรรณกรรมสำหรับเด็กทั่วประเทศไทย ทั้งในวงการสำนักพิมพ์ วงการสื่อ การวาดภาพประกอบ การจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก การศึกษาและกลุ่มอาชีพด้านความคิดสร้างสรรค์ทุกประเภท หลักสูตรของเรายึดมั่นในปรัชญา “การพัฒนาเด็กด้วยวรรณกรรมสำหรับเด็กคือพื้นฐานของการพัฒนาสังคม” โดยเรามี Programe Learrning Outcome (PLO) ของเราว่า “A creator of children’s content to enhance children development”
Children’s Literature is a major in Faculty of Humanity Srinakarinwirod University . Founded in 1994. We are the first and still the one in Thailand and Asean. Our alumni are mainly in the field of Children’s Literature in Thailand such as editorial, media, illustration and Children’s Activity production also in education filed and every creative field in Thailand. Our Program Philosophy: nhancing Children with Childen’s Literafture is a foundation of social development. Our Programe Learrning Outcome (PLO) is “A creator of children’s content to enhance children development
อ. ดร. พิชญา นิลรุ่งรัตนา
Pitchaya Nilrungratana, Ph.D.
ประธานหลักสูตร
Head of Committee
กรรมการด้านโสตทัศน์ IT เทคโนโลยี
อ. อนุสรา ดีไหว้
Anusara Deewai
เลขานุการหลักสูตร
Committee’s Secretary
กรรมการด้านกิจการนิสิต ศิษย์เก่า ตารางสอน
อ. อัจฉรา ประดิษฐ์
Atchara Pradit
คณะกรรมการหลักสูตร
Program Committee
กรรมการด้านวิชาการ การประกันคุณภาพ
ผศ.
Asst. Prof. Rapindhorn (Na Thalang) Kongsomboon
คณะกรรมการหลักสูตร
Program Committee
กรรมการด้านทุนการศึกษา เครือข่ายความร่วมมือ
ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง
อ. ดร. ธันยา พิทธยาพิทักษ์
Tanya Pittayapitak, Ph.D.
คณะกรรมการหลักสูตร
Program Committee
กรรมการด้านบริการวิชาการ การวิจัย
อาจารย์ปรีดา ปัญญาจันทร์
Mr.Preeda Punyachand
ศศ.บ. (ศิลปะและวัฒนธรรม) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
อาจารย์ชีวัน วิสาสะ
Mr.Cheewan Wisasa
กศ.บ. (ศิลปศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เรือโทหญิง แพทย์หญิงเปรมวดี เด่นศิริอักษร
Mrs.Premvadee Densiriaksorn
ดร. นฤมล เนียมหอม
Nareumon Neamhom, Ph.D
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัควิทย์ เรืองรอง
Asst. Prof. Akhawit Ruengrong
อาจารย์นันทวัน วาตะ
Miss Nuntawan Wata
คุณปารัณ เจียมจิตต์ตรง
Mr. Paran Chiamchittrong
คุณพิชชากร วรสิทธิกร
Mr. Pichakorn Vorasithikorn
คุณอัษฎาวุธ สวัสดิบุตร
Mr. Atsadawut Sawasdibood
ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปริญญาโท การจัดการทางวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณชัยฤทธิ์ ศรีโรจน์ฤทธิ์ (พี่มู)
Mr. Chairit Srirojrit
คุณชัชนันท์ ประสพวงศ์ (พี่ข้าวตู)
Miss Chatchanun Prasopwong
คุณเพลิกา โลหารชุน (พี่เพิ้งกี้)
Miss Paylika Loharnchoon
คุณภรณี แทนสวัสดิ์ (พี่ปุยนุ่น)
Miss Bhoranee Tanswat
คุณกิตติ อุ่นทรัพย์
Mr. Kitti Oonsab
ความเชี่ยวชาญ: การเล่านิทาน การจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก การเขียนบทละครสำหรับเด็ก รวมถึงการเขียนและการวาดภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก
ดร. มนต์ ขอเจริญ
Dr. Mon Korcharoen
คุณปฐมาภรณ์ วิโรจน์พันธุ์
Miss Patamaporn Virojphan
คุณณัฏฐิณีย์ แสงงาม
Miss Nattinee Sangngam
ประวัติความเป็นมา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เดียวในประเทศไทย ที่เปิดสอนด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กในระดับอุดมศึกษา เริ่มเปิดรับนิสิตครั้งแรกใน พ.ศ. 2537 เป็นสาขาวิชาเอก สังกัดภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีปรัชญาเมื่อแรกก่อตั้งว่า
“การพัฒนาเด็กด้วยวรรณกรรมสำหรับเด็ก
เป็นพื้นฐานการพัฒนาสังคม”
หลักสูตรนี้ถือเป็นหลักสูตรที่มีเอกลักษณ์สูงมากเพราะในระดับประเทศไทย เป็นเวลากว่า 26 ปีแล้ว ที่หลักสูตรฯ นี้เป็นหลักสูตรเดียวในประเทศที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความชำนาญด้านการสร้างสรรค์วรรณกรรมสำหรับเด็กทุกรูปแบบ เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน ทั้งการเขียน การวาด การร้อง เล่น เล่านิทาน การแปล การออกแบบสื่อสำหรับเด็ก และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก ทำให้บัณฑิตมีคุณสมบัติอันเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากผู้สำเร็จการศึกษาด้านศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ นันทนาการ ศิลปะศึกษา คอมพิวเตอร์กราฟิกดีไซน์ ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงใกล้เคียงกัน
ในระดับนานาชาติ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น มีการ เรียนการสอนด้านวรรณกรรมสำหรับเด็ก ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก แต่ในระดับอาเซียน (ASEAN) ไม่มีสถาบันอุดมศึกษาใดที่เปิดสอนด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กในระดับปริญญาตรี (Undergraduate Degree) เช่นที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ในยุคแรกก่อตั้งหลักสูตรฯ อัตราการเกิดของประชากรเด็กในประเทศไทยอยู่ระหว่าง 9 แสน ถึงหนึ่งล้านคน ตลาดหนังสือสำหรับเด็กในเมืองไทยกำลังเพิ่งเริ่มพัฒนา มีสำนักพิมพ์สำหรับเด็กเปิดใหม่มากมาย ตลาดแรงงานของประเทศกำลังขาดแคลนบุคลากรด้านหนังสือและสิ่งพิมพ์สำหรับเด็ก พ่อแม่ผู้ต้องการเลี้ยงลูกอย่างมีคุณภาพพากันทุ่มเททุนทรัพย์เพื่อพัฒนาลูกหลานของตน หลักสูตรฯ จึงมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความชำนาญในการทำงานแวดวงหนังสือสำหรับเด็กโดยเฉพาะ
ดังปรากฏจากอาชีพของบัณฑิตในรุ่นแรก ๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นงานด้านหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ในหลายมิติ เช่น บรรณาธิการหนังสือ เจ้าหน้าที่พิสูจน์อักษร นักเขียนหนังสือและตำรา นักวาดภาพประกอบ นักแปล นักจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก ผู้ประกอบการร้านหนังสือ โดยมีบัณฑิตบางส่วนทำงานในแวดวงการศึกษา เช่น เป็นครูผู้สอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับอุดมศึกษาในสถาบันการศึกษาของภาครัฐและภาคเอกชน ในโรงเรียนนานาชาติ หรือมูลนิธิต่าง ๆ ซึ่งบัณฑิตรุ่นแรก ๆ หลายคน เติบโตอยู่ในแวดวงหนังสือและสิ่งพิมพ์ เป็นบรรณาธิการหนังสือสำหรับเด็ก นักแปล นักแต่งเรื่องสำหรับเด็ก มานานกว่า 10 ปี เมื่อบัณฑิตมีครอบครัวและมีบุตรหลานของตัวเอง ก็ได้ประโยชน์จากการใช้องค์ความรู้ด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กพัฒนาเด็กในการเลี้ยงดูลูกหลาน
การดำเนินงานช่วงยี่สิบกว่าปีนี้ มีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรฯ ประมาณ 660 คน ตลอดการดำเนินงานของหลักสูตรนับตั้งแต่เปิดสอน มีการปรับปรุงตามรอบระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้หลักสูตรมีเนื้อหาทันสมัย ทันบริบทการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม โดยปรับปรุงหลักสูตร (ปรับใหญ่) แล้ว 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2548, ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553 (ปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลา 5 ปี) ต่อมาจึงนำหลักสูตรฉบับนี้มาปรับรูปแบบและเปลี่ยนแปลงรายวิชาเล็กน้อย เป็นการปรับหลักสูตร ครั้งที่ 3 ใช้รูปแบบ มคอ. 2 เมื่อ พ.ศ. 2555 และ ครั้งที่ 4 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม 2559 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เพิ่งเปิดสอนแก่นิสิตในปีการศึกษา 2560 เป็นปีแรก
การปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง มีการสำรวจความเห็นของ stakeholders ประกอบด้วยเป็นข้อมูลสำคัญ ผลสำรวจช่วง 10 ปีหลัง พบแนวโน้มว่าบัณฑิตสามารถประยุกต์องค์ความรู้ที่เรียนสู่การทำงานได้อย่างกว้างขวางกว่าจุดประสงค์เมื่อแรกก่อตั้งหลายด้าน โดยเฉพาะการเป็นผู้มีความรู้ความสามารถใช้วรรณกรรมสำหรับเด็กเพื่อพัฒนาเด็กในพื้นที่ชีวิตนอกเหนือจากการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน (public learning space) และการสร้างรูปแบบการเรียนรู้เชิง Edutainment แก่เด็ก เช่น เป็นนักออกแบบภาพกราฟิกสำหรับเด็ก นักออกแบบสื่อการเรียนรู้ เกม กิจกรรมสำหรับเด็ก นักเขียนคอลัมน์ (ออนไลน์และสิ่งพิมพ์) สำหรับพ่อแม่ผู้มีลูกช่วงปฐมวัย นักจิตวิทยาเด็ก นักเขียนบทโทรทัศน์และนักเขียนบทละครสำหรับเด็ก นักวิจัย/ค้นคว้าข้อมูลเพื่อการจัดนิทรรศการหรือการจัดพิพิธภัณฑ์สำหรับเด็ก นักจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กตามสถาบันพัฒนาเด็กต่าง ๆ ผู้ดำเนินงานมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ฯลฯ ประกอบกับในครอบครัวกลุ่ม Generation Y (เกิด พ.ศ. 2523-2543) ถึง Generation Z และ Generation Alpha (เกิดหลัง พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป) มีอัตราการเกิดของเด็กลดลงมาก พ่อแม่มีพฤติกรรมการใช้สื่อสมัยใหม่เพื่อพัฒนาเด็กเปลี่ยนไปตามกระแสวัฒนธรรมทางสายตา (Visual Culture) ที่เน้นการสื่อสารข้อมูลด้วยภาพเคลื่อนไหว เพื่อการดู (images to look/see) ทุก platform ของจอภาพ (screen/monitor) มากกว่าการอ่านข้อความ (text to read) บนหน้ากระดาษ (paper) โลกเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจึงทำให้สื่อสมัยใหม่ (new media, 4G, 5G) มีบทบาทเหนือกว่าการอ่านหนังสือและสิ่งพิมพ์ หรือการฟังบุคคลเล่าเรื่อง ร้อง เล่นกับเด็ก
แนวโน้มดังกล่าว ทำให้สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก เปิดใช้หลักสูตรที่เพิ่งปรับปรุงใน พ.ศ. 2560 มีสาระสำคัญของการปรับปรุง คือ เพิ่มมิติความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและการทำงานศิลปะมากขึ้น เพิ่มทักษะภาษาอังกฤษแก่ผู้เรียนมากขึ้น เพื่อให้บัณฑิตทำงานได้หลากหลายตามแนวโน้มสังคม เช่น ทำงานด้านภาพประกอบ งานออกแบบกราฟิก งานการผลิตสื่อสมัยใหม่สำหรับเด็ก (นักออกแบบเกมคอมพิวเตอร์ นักข่าว-นักเขียนเนื้อหาลงเว็บไซต์) นักจัดกิจกรรมสำหรับเด็กในแหล่งเรียนรู้สาธารณะ (ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดเอกชนขององค์กร learning space สำหรับเด็กตามศูนย์การค้า)
โดยพยายามให้บัณฑิตมีวิธีการสื่อสารเนื้อหาสำหรับเด็กด้วยสื่อสมัยใหม่ (new media) ได้หลายรูปแบบ ไม่จำกัดเฉพาะหนังสือและสิ่งพิมพ์ ซึ่งถือเป็นสื่อยุคเก่า (old media) ทำให้บัณฑิตประยุกต์องค์ความรู้ด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กเพื่อการทำงานได้หลากหลาย นอกจากด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน ยังขยายสู่การทำงานพัฒนาผู้ดูแลเด็ก ทั้งในครอบครัว (พ่อแม่ พี่เลี้ยงเด็ก) ในระบบโรงเรียน และในแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน (สถาบันพัฒนาสมองเด็ก โรงเรียนสอนศิลปะ โรงเรียนสอนทำอาหารสำหรับเด็ก สถาบันพัฒนาทักษะสมองของเด็ก) และแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่สาธารณะ (ห้องสมุดสาธารณะ พิพิธภัณฑ์เด็ก พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ดรุณบรรณาลัย (ห้องสมุดเด็กปฐมวัยแห่งแรกของประเทศไทย) ศูนย์การออกแบบและสร้างสรรค์ (TCDC)) คุณค่าของหนังสือหรือสื่อทุกชนิดสำหรับเด็ก อยู่ที่เนื้อหา (content) ซึ่งอาจจะมากกว่าอยู่ที่ตัวสื่อหรือรูปแบบของสื่อ (media form/format/platform) ซึ่งมีการพัฒนาใหม่อยู่ตลอดเวลาในอัตราเร่งทวีคูณอย่างไม่หยุดยั้ง การปรับปรุงหลักสูตรฯ ทุกครั้ง จึงเป็นการปรับโดยยึดองค์ความรู้ด้านวรรณกรรมและเด็กไว้เป็นฐานสำคัญไม่เคยเปลี่ยนแปลง ด้วยเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นมากของหลักสูตรฯ ที่แตกต่างชัดเจนเมื่อเทียบกับหลักสูตรอื่นในสถาบันอุดมศึกษาของไทย
แต่ละปี หลักสูตรฯ เปิดรับนิสิตใหม่จำนวน 35 คน แบ่งการรับเป็น 2 รอบ คือ รอบรับตรง (TCAS 3) จำนวน 20 คน และรอบ Admission (TCAS 4) จำนวน 15 คน กำหนดเกรดเฉลี่ยของผู้สมัครไม่ต่ำกว่า 2.75 และมีคะแนน ONET อยู่ในช่วงคะแนน 14,000-24,000 (จากคะแนนเต็ม 30,000 คะแนน) มีผู้สนใจสมัครเข้าเรียนในหลักสูตรฯ จำนวน 100-200 คน ส่วนใหญ่มีความสนใจอยากเรียนด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กมากจึงตั้งใจมาสมัคร ค้นคว้าหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับหลักสูตรจากแหล่งออนไลน์ สอบถามรุ่นพี่ทาง twitter, Facebook มาร่วมงาน Open House ที่หลักสูตรจัด แล้วจึงเลือกมาสอบ จึงถือเป็นหลักสูตรทางเลือกเฉพาะทางสำหรับผู้สนใจเฉพาะกลุ่มเล็ก (niche market)
ปัจจุบัน มีคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และอาจารย์ประจำ 5 คน และมีคณาจารย์พิเศษกว่า 10 คน ที่ล้วนเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับในแวดวงวรรณกรรมสำหรับเด็ก มาบรรยายให้ความรู้แก่นิสิต คณาจารย์ส่วนใหญ่สนใจการทำงานสร้างสรรค์สำหรับเด็กอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้หลักสูตรฯ ยังมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ด้านอาคาร สถานที่ บุคลากร การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร โครงการพัฒนานิสิตอีกมากมาย เพื่อพัฒนานิสิตทั้งในและนอกห้องเรียนให้มีความเชี่ยวชาญด้านการทำงานเพื่อเด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง
หลักสูตรฯ ยังมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ตลอดจนผู้จ้างงานนิสิตและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทำให้เมื่อมีการสำรวจความเห็นของ stakeholders เพื่อประเมินคุณภาพหลักสูตร มักจะได้ข้อมูลตอบกลับที่ละเอียดและเป็นประโยชน์มากต่อการปรับปรุงหลักสูตร และยังเป็นเครือข่ายความร่วมมือด้านอื่น ๆ เพื่อพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
อาจารย์สมบูรณ์ สิงฆมานันท์
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
อาจารย์นงนวล พงษ์ไพบูลย์
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
ผศ.บุญศรี ไพรัตน์
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
ผศ.จินดา จำเริญ
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
ศาสตราจารย์ เกริก ยุ้นพันธ์
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
รศ.เฉลียว พันธุ์ศรีดา
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
ผศ.เกษร เจริญรักษ์
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรผ่านกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.2) โดยปัจจุบันหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก เริ่มต้นใช้หลักสูตร ปี พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เกิดจากการพัฒนาโดยความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็น คณาจารย์ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญในวงการต่างๆ โดยสาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็กจะมีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยอยู่เสมอในทุกๆ 5 ปี ซึ่งหลักสูตรปี พ.ศ. 2565 เปิดให้ผู้ที่สนใจหลักสูตร ทั้งนักเรียนที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ผู้ปกครอง และผู้สนใจทุกท่าน สามารถดาวน์โหลดเนื้อหาหลักสูตรได้เลย
หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นหลักสูตรที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ASEAN University Network Quality Assurance : AUN-QA ในการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน โดยได้รับ Certificate รับรองในวันที่ 11 เมษายน 2565 ทางหลักสูตรยังคงมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อให้ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ASEAN University Network Quality Assurance : AUN-QA อย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต