แนะนำผลงาน โครงการ ‘ปลูกรักษ์กลางใจ’ คือการทดลองจัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่เด็กและเยาวชน ให้รัก หวงแหน และตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของธรรมชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น จัดวันที่ 24-29 กุมภาพันธ์ 2563 (รวม 42 ชั่วโมง) ณ โรงเรียนบ้านเขาตากุน อ. ละแม จ. ชุมพร แก่เด็ก 25 คน ผู้จัดโครงการนำเด็กเล่นกับธรรมชาติรูปแบบต่าง ๆ พาเด็กไปรู้จักและทบทวนคุณค่าธรรมชาติที่สัมพันธ์กับชีวิตและชุมชน และนำเด็กใช้ประโยชน์จากพืชในท้องถิ่น (ทำสีย้อมผ้า ทำขนม) เพื่อที่เด็ก ๆ อาจนำประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวมในอนาคต https://www.youtube.com/watch?v=KwO9vJ-XY4U เบื้องหลังแนวคิด ธรรมชาติคือผู้ให้กำเนิดและธำรงรักษาทุกสรรพสิ่ง ไม่มีสิ่งใดอยู่ได้หากปราศจากธรรมชาติ เราอยากปลูกอุดมการณ์ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติลงในใจทุกคน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ด้วยการจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลายรูปแบบ ให้เด็กได้ทั้งเล่น ฟังนิทาน ได้รับฟังการบรรยายความรู้ ได้ฝึกคิดวิเคราะห์และลงมือปฏิบัติวิธีดูแลธรรมชาติอย่างง่าย แรงบันดาลใจ ปัจจุบันธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลายอย่างรวดเร็วเพราะการกระทำของมนุษย์ เราตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นอย่างมาก จึงอยากนำความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เรียนในหลักสูตร ศศ.บ. สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก และการเป็นนิสิตสมาชิก […]
Category: cl23_project
cl23_Sunkamol
แนะนำผลงาน โครงการนี้ทดลองจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน รวม 13 ครั้ง ที่ สถานสงเคราะห์เด็กและสถานรับเลี้ยงเด็ก ‘มูลนิธิบ้านนกขมิ้น’ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม 2563 (เด็ก 8 คน) ผู้จัดกิจกรรมเล่านิทานอ่านหนังสือ และออกแบบกิจกรรมต่อจากหนังสือ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม แก่เด็ก ควบคู่กับส่งเสริมสติปัญญา ด้านการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ แบบเป็นองค์รวม https://www.youtube.com/watch?v=uo4zV33FsGU เบื้องหลังแนวคิด สถานสงเคราะห์เด็กต่าง ๆ ของภาครัฐและภาคเอกชน มีเด็กและเยาวชนที่ต้องดูแลจำนวนมาก ทั้งแบบไป-กลับ และแบบอยู่ประจำ แต่ในองค์กรอาจมีบุคลากรผู้ดูแลเด็กน้อย หรือบุคลากรอาจไม่มีเวลาออกแบบกิจกรรมพัฒนาเด็กเพราะมีภาระงานมาก จึงอยากจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กปฐมวัย (3-6 ปี) ในสถานสงเคราะห์ เพราะอยากเห็นเด็กได้มีการกระตุ้นพัฒนาการทุกด้านอย่างเหมาะสม และคิดว่าวรรณกรรมประเภทหนังสือภาพสำหรับเด็ก ใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นพัฒนาการเด็กได้อย่างสมบูรณ์ แรงบันดาลใจ อยากท้าทายตัวเองในการทำงานธีสิสให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กกำพร้า และอยากช่วยพัฒนาเด็กในระยะสําคัญของพัฒนาการชีวิต เพราะการไปจัดกิจกรรมพัฒนาเด็ก เป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่อง ใช้ทั้งแรงกาย แรงใจ และเวลา ต่างจากการนำเงินหรือสิ่งของไปบริจาค และน่าจะช่วยบรรเทาปัญหาที่เด็กปฐมวัยตามสถานสงเคราะห์มีพัฒนาการค่อนข้างล่าช้ากว่าที่เด็กในวัยเดียวกันควรจะเป็น ทั้งด้านร่างกายอารมณ์ สังคม […]
cl23_mathuros
แนะนำผลงาน ‘โครงการหุ่นสร้างสรรค์ นิทานไทยหรรษา’ เป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับนิทานไทยให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น กิจกรรมในโครงการจัดขึ้นในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยการเล่านิทานผ่านการแสดงละครหุ่นมือโดยการนำนิทานไทยอย่างนิทานพื้นบ้านมาดัดแปลงเป็นละครนิทานสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางสังคมแก่ผู้เข้าร่วมโครงการรวมถึงสร้างความบันเทิงจากการบูรณาการนิทานไทยกับสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นอีกด้วย https://www.youtube.com/watch?v=E2QuKXjACH0 แรงบันดาลใจ เริ่มต้นจากการที่เราเองชื่นชอบนิทานพื้นบ้านรวมถึงละครพื้นบ้าน และรู้สึกว่าปัจจุบันเด็กไทยก็รู้จักนิทานพื้นบ้านน้อยลง ทำให้เราอยากทำงานที่เป็นการเผยแพร่นิทานพื้นบ้านให้เข้าใจง่าย สนุก และเข้ากับเด็ก ซึ่งเราเป็นคนที่ชอบเล่านิทานและทำกิจกรรมกับเด็กด้วย เลยเอาทุกอย่างที่ตัวเองชอบ ทำได้ดีและเป็นตัวของตัวเองมาใส่ในธีสิสนี้ จนสุดท้ายก็กลายมาเป็น ‘โครงการหุ่นสร้างสรรค์ นิทานไทยหรรษา’ กระบวนการทำงานและอุปสรรค เริ่มจากคิดก่อนว่าในโครงการอยากให้มีอะไรบ้าง กลุ่มเป้าหมายคือใคร ทำทั้งหมดกี่ครั้ง กี่วัน ระยะเวลาเท่าไร พอทุกอย่างลงตัวก็เริ่มหาสถานที่ ทั้งโรงเรียน ห้องสมุด มูลนิธิ บ้านเด็กอ่อน ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงที่สงขลาภูมิลำเนาของตัวเองด้วย แล้วก็ลองลงพื้นที่ไปสำรวจว่าเด็กแต่ละวัยต้องการอะไร สนุกกับอะไร แล้วเอามาปรับกับกิจกรรม พอตัดสินใจทำหุ่นมือ ก็ต้องเอาหุ่นมือไปทดลองทำกับเด็กก่อนที่จะทำโครงการจริง จากนั้นก็มาทำงานเอกสาร เตรียมกิจกรรม ลงไปทำโครงการแล้วก็สรุปผล ส่วนอุปสรรคหลักของเราเป็นเรื่องของสถานที่ เพราะช่วงที่หาคือช่วงเดือนกุมภาพันธ์ โรงเรียนเริ่มปิดเทอม และสถาบันอื่น ๆ ก็จัดโครงการสำหรับเด็กเหมือนกัน เลยหาสถานที่ในกรุงเทพฯ ไม่ได้ จึงตัดสินใจกลับไปจัดที่โรงเรียนบ้านควนหมาก จังหวัดสงขลา ถือว่าได้กลับไปเยี่ยมบ้านด้วย อีกทั้งมีเรื่องการจัดโครงการที่พอได้จัดจริง ๆ ก็จะมีปัญหาเฉพาะหน้ามาให้แก้เกือบทุกวัน […]